Post Info TOPIC: คำจีนในภาษาไทย ว่าด้วยของกินและขนม
หัวหน้าผู้คุมบอร์ด

Date:
คำจีนในภาษาไทย ว่าด้วยของกินและขนม
Permalink   


ขนมเปี๊ยะ



คำว่าขนมเปี๊ยะ (แต่ก่อนเรียก ขนมเปีย) นั้น น่าจะมาจากสำเนียงฮกเกี้ยน-แต้จิ๋ว (จีนกลางว่าขนมผิง)


ในอักขราภิธานศรับท์ของหมอบรัดเลย์ (พ.ศ. 2416) กล่าวไว้ว่า "ขนมเปีย, คือขนมทำด้วยแป้งจีน ปั้นเป็นอันแบนๆ เท่าลูกสะบ้าฝัก ใส่ไส้หมูบ้าง, ไส้ถั่วบ้าง, ผิงใส่ไฟข้างล่างข้างบน" (บรัดเลย์ 2514: 75)


น่าสังเกตว่าตัวจีนตัวนี้ญี่ปุ่นเอาไปแทนคำว่า "โมจิ" ซึ่งเหมือนขนมผิงหรือขนมเปี๊ยะแค่การเอาแป้งไปผิงไฟแค่นั้นเอง แต่โมจิญี่ปุ่นไม่ใช่ขนมเปี๊ยะแบบจีนแน่ๆ


 


 



__________________
หัวหน้าฯ

Date:
๒ แป๊ะก๊วย
Permalink   


 


แป๊ะก๊วย


白果


เป็นขนมชนิดหนึ่ง ใช้เม็ดในของเม็ดต้นแป๊ะก๊วยต้มกับน้ำตาล


 


แป๊ะซะ


白熟


คำว่าแป๊ะซะนี่ผมเพิ่งรู้นะนี่ว่ามันแปลตรงตัวว่า "ขาว (และ) สุก (สุกจนขาว)" นี่เอง ไอ้ที่ว่าขาวคงเป็นเนื้อปลานึ่งนี่เอง


 


เป๋าฮื้อ


鮑魚


เป๋าฮื้อ จีนเรียกว่าเป๋าฮื้อเหมือนกับว่ามันเป็นปลา (ฮื้อ) เลยนะทั้งๆ ที่มันเป็นหอย แต่เอาน่าสัตว์น้ำเหมือนกัน แต่ตัวอักษร "เป๋า" 鮑 นี่ญี่ปุ่นเอาไปแทนคำว่า "อาวาบิ" ซึ่งก็หมายถึงสิ่งเดียวกัน คือเป๋าฮื้อ (หอยโข่งทะเล) นี่เอง พูดแล้วก็อยากกิน


 


 



__________________
หัวหน้าฯ

Date:
๖ ปาท๋องโก๋
Permalink   


 


ปาท่องโก๋


白糖糕


คำว่า "ปาท่องโก๋" เนี่ย ถ้าดูตามตัวหนังสือแล้ว มันแปลได้ว่า "ขนมน้ำตาลขาว" นี่เอง เอ๊ะมันเกี่ยวกับไอ้แป้งทอดน้ำมันที่เรากินกันตอนเช้าๆ ยังไง จิงๆ ไอ้แป้งทอดน้ำมันที่เรากินนั้นมันเรียกว่า


*อิ้วจาก๊วย


油炸


หรือ "(ไอ้) ฉินไกว่ทอดน้ำมัน" เขาว่าที่ได้ชื่อนี้ก็เพราะคนจีนเคียดแค้นที่สองผัวเมียฉินไกว่ 秦檜  คบคิดกับพวกกิมเป็นเหตุให้งักฮุย (วีรบุรุษแห่งซ่งใต้) ต้องตาย ชาวบ้านเขาเลยสาปแช่งมันโดยปั้นแป้งแปะกันติ๊ต่างว่าเป็นสองผัวเมียแล้วทอดกินเสีย คำว่าอิ้วจาก๊วยนั้นลางทีก็สะกดเป็น 油炸鬼 แต่โดยมากในภาษาจีนปัจจุบันเขาเรียกว่า 油條 อิ้วเตี๋ยว ส่วนปาท๋องโก๋ (ขนมน้ำตาลขาว) นั้นเป็นขนมกวางตุ้งรูปสี่เหลี่ยมเนื้อคล้ายถ้วยฟู  คาดว่าที่คนไทยเรียกอิ๊วจาก้วยเป็นปาท๋องโก๋คงเพราะเวลาคนขายขนมหาบขนมมาขายก็ขายรวมกัน แต่คนขายอาจร้องปาท๋องโก๋ก่อนเป็นคำแรกหรือไม่ได้ร้องบอกชื่อขนมเลย คนไปซื้อเจ้าขายปาท๋องโก๋ทีไรก็ได้ไอ้แป้งทอดน้ำมัน (อิ้วจาก๊วย) ทุกทีจึงจำสับสนกัน น่าสังเกตว่าทางปักษ์ใต้คนยังเรียกถูกว่ามันคือ "อิ้วจาก๊วย" สงสัยว่าแถวนั้นอาจไม่ได้ขายปาท๋องโก๋คู่กันไปด้วยก็ได้ (อ้างจาก เฉลิม ยงบุญเกิด 2512: 103-104)


 



__________________
หัวหน้าฯ

Date:
๘ โป๊ยโป๊
Permalink   


 


โป๊ยโป๊


八寶


แปลตรงตัวว่า "แปดสมบัติ" แต่ในที่นี้ โป๊ยโป๊หมายถึงผลไม้รวมแปดชนิด แต่แหม พูดแล้วนึกถึงคำว่า "ฮัปโปไซ" 八宝菜 ซึ่งหมายถึงผัดผัดทรงเครื่องจริงๆ เลย


หมายเหตุ: 寶 นั้นเป็นตัวโบราณของ 宝 นั่นล่ะ


 


โป๊ยกั๊ก


八角


รู้จักไหมครับ โป๊ยกั๊ก ที่เขาใส่ในพะโล้น่ะ


 



__________________
หัวหน้าฯ

Date:
๑๐ เปาะเปี๊ยะ
Permalink   


 


เปาะเปี๊ยะ


薄餅


คำศัพท์นี้สร้างความงงเต็กให้ผมพอสมควร เพราะว่าคำว่าเปาะเปี๊ยะ (ปอเปี๊ยะ) เนี่ย ถ้าดูตรงตัวมันแปลว่า "เปี๊ยะ (แผ่นแป้ง) บาง" ซึ่งดูเหมือนว่าจะใช้หมายถึงอาหารที่เอาแผ่นแป้งบางๆ ห่อถั่วงอก เต้าหู้ กุนเชียง ปู แตงกวา ห่อเป็นแท่งๆ ราดน้ำจิ้มหวานๆ กิน ซึ่งนั่นก็ไปตรงกับที่เราเรียกกันว่า "เปาะเปี๊ยะสด" แต่เปาะเปี๊ยะทอดที่เรารู้จักนั้น กลับไปตรงกับอาหารจีนที่เรียกว่า "ชุนเจวี่ยน" 春巻 ซึ่งญี่ปุ่นเรียกคำเดียวกันด้วยเสียงคุนว่า "ฮารุมากิ" อีกทีนึง แต่แปลกอีกแล้วที่คำศัพท์ 薄餅 เป๋าผิง (ญี่ปุ่นเรียกเพี้ยนเป็น โปพิง) นั้นกลับหมายถึง "แผ่นแป้งบางๆ" ที่ใช้ห่อไส้ทำ "ชุนเจวี่ยน" (ที่เราเรียกว่าเปาะเปี๊ยะทอด) หรือไว้ห่อเป็ดปักกิ่ง (หนังเป็ดที่เขาแล่นะ ไม่ใช่ห่อเป็ดทั้งตัว) แล้วใส่ปากรับประทาน


 


สรุปก็คือ คนไทยน่ะ ไปเอาชื่อส่วนประกอบอาหาร (แผ่นแป้ง) มาเรียกเป็นชื่ออาหารหรือนี่? โอ้พระเจ้า


 



__________________
หัวหน้าฯ

Date:
๑๒ ตึ้งชัง
Permalink   


 


ตึ้งชัง


糖葱


เคยเห็นน้ำตาลหลอดๆ ติดกันเป็นแผ่นแบบที่เขาใช้แผ่นเปาะเปี๊ยะห่อแล้วกินแบบเดียวกับโรตีสายไหมไหมครับ (มันไม่ใช่แผ่นโรตี มันเป็นแผ่นเปาะเปี๊ยะ ปัดโธ่) นั่นล่ะครับ ตึ้งชังล่ะ


 


ตือฮวน


猪番


คำว่า "ตือฮวน" ที่ว่าหมายถึงไส้หมูนี่มีที่มาแปลกเล็กน้อย จะว่าไปก็เป็นคำที่ใช้เฉพาะในหมู่คนแต้จิ๋วกับฮกเกี้ยนเท่านั้น คือจริงๆ แล้วคำว่าไส้หมูต้องใช้คำว่า "ตือตึ๊ง" 猪腸 แต่เผอิญคำว่า ตึ๊ง ดันไปพ้องเสียงกับคำว่า ตึ๊ง 唐 ในคำว่าตึ่งนั้ง (คนถัง หมายถึงคนจีนทางใต้ คือพวกฮกเกี้ยนแต้จิ๋วอะไรเทือกนี้) เข้า เลยไม่ชอบใจ ต้องเปลี่ยนจากตึ๊งเป็น "ฮวน" (พวกต่างชาติ) แทน ซะงั้น


 


ตังกวยแฉะ


東瓜册


มันคือฟักเชื่อมน้ำตาล กวย ก็คือ ฟัก (ภาษาไทยนะ) นั่นหละ


 


 


ตังฉ่าย


冬菜


ดูตามตัวหนังสือแปลว่า "ผักหน้าหนาว" ซึ่งจะว่าไปมันก็คือผักดองแห้งอย่างหนึ่งนั่นหละ ใส่ก๋วยเตี๋ยวหรือแกงจืดก็อร่อย


 


เต้าเจี้ยว


豆醤


เชื่อหรือไม่ว่าในภาษาเกาหลีนั้น มิโซชิรุ 味噌汁 ของญี่ปุ่นนั้นเกาหลีเรียกว่า "โทจางกุก" ซึ่งแปลได้ว่า ซุปเต้าเจี้ยว เฮ้ยทำไมเหมือนในภาษาไทยได้ขนาดนั้น คนไทยก็เรียกมิโซชิรุของญี่ปุ่นว่าซุปเต้าเจี้ยวเหมือนกัน


 


เต้าทึง


豆湯


"เต้า" นี่ก็คือถั่ว "ทึง" ก็คือน้ำร้อน (ในภาษาจีนแผลงเป็นน้ำแกงก็ได้) มันคือถั่วเขียวต้มกับลูกเดือยใส่น้ำตาลนั่นเอง


 


 



__________________
หัวหน้าฯ

Date:
๑๙ เต้าส่วน
Permalink   


 


เต้าส่วน


豆璇


เป็นขนมชนิดหนึ่งทำจากถั่วเขียวหน้าตาคล้ายๆ ขี้มูก คำว่าเต้าส่วนเป็นเพียงภาษาพูด ฉะนั้นคำว่า "ส่วน" จึงไม่มีอักษรเขียนแทนความหมายแต่อย่างใด ตัวหนังสือ "ส่วน" 璇 (จีนกลางอ่าน เสวียน) นั้นเป็นแค่อักษรเลียนเสียนเท่านั้น (คำว่า 璇 หมายถึงเพชรพลอยสวยๆ เป็นแค่ใช้สะกดเสียงเท่านั้น ไมเกี่ยวกับขนมเลยแม้แต่น้อย)


 


เต้าหู้


豆腐


ญี่ปุ่นเรียกโทฟุ แต่ไม่ว่าจะเต้าหู้จีนหรือเต้าหู้ญี่ปุ่นก็กินได้อร่อยทั้งนั้น คนจีนนั้นใช้เต้าหู้ประกอบอาหาร แต่คนญี่ปุ่นกินเต้าหู้นิ่มเย็นๆ ทั้งอย่างนั้น (ไม่สิ ต้องใส่หอมซอยกับขิงบดนึดนึง) เลยก็ได้ ใสพวกนาเบะ (อาหารหม้อต้มๆ) หรือกินแบบเต้าหู้ทอดใส่โอเด้งก็ได้ เต้าหู้จีนในเมืองไทยอย่างแข็งมีทั้งสีเหลืองและสีขาว  เต้าหู้ญี่ปุ่นนั้นไม่ว่าจะคินุโทฟุ 絹豆腐 หรือโมเมงโทฟุ 木綿豆腐 ก็ออกจะนิ่มทั้งนั้น เพียงแต่คินุโทฟุเนื้อละเอียดสมชื่อเต้าหู้ "ผ้าไหม" ส่วนโมเมงโทฟุ "เต้าหู้ผ้าฝ้าย" เนื้อหยาบกว่า


 


เต้าหู้ออกจะนิ่มปานนั้น ทำไมถึงมีคำพูดว่า ไปเอาหัวชนเต้าหู้ตายไป๊ ด้วยหว่า?


 


เต้าหู้ยี้


豆腐乳


สังเกตว่าคำว่า "ยี้" 乳 นั้นหมายถึงน้ำนม หรือแผลงว่าเป็นของที่ลักษณะอย่างน้ำนม คือข้นๆ หนืดๆ อย่างน้ำนมก็ได้ แต่ไม่ได้แปลว่านมเต้าหู้นะจ๊ะ (ฮา) มันก็คืออาหารเค็มที่ทำจากเต้าหู้ขาวนั่นเอง


 


เต้าฮวย


豆花


เต้าฮวย อืม ดูจากตัวหนังสือมันก็คือ ดอกไม้ถั่ว  (?) เหรอ งงเหมือนกัน เอาเป็นว่ามันคือของหวานอย่างนึงละกัน


ว่าแต่ว่าทำไมต้องมีคำพูดจำพวกว่า ทำไม่ได้ก็ไปขายเต้าฮวยไป๊ ด้วยหว่า? (สงสัยไปเรื่อย)


 


เจ



ก็คืออาหารที่ปราศจากเนื้อสัตว์ แต่เต็มไปด้วยมี่กึน เต้าหู้ และน้ำมันจนเลี่ยนนั่นเอง ปีนึงกินครั้งเดียวด้วยเหตุผลทางความเชื่อก้เหลือจะพอละ (ฮา)


*เจี้ยะเจ


食斎


ก็คือกินเจนั่นเอง


 


 



__________________
หัวหน้าฯ

Date:
๒๘ จับเกี๊ยม
Permalink   


 


จับเกี๊ยม


 


雑鹹


 


"จับ" หมายถึง "ปน คละ" "เกี๊ยม" หมายถึง "เค็ม" รวมกันก็คือ "เค็มปน" คือของเค็มหลายอย่างคละกัน เช่นเกี๊ยมฉ่าย ไชโป๊ เต้าหู้ยี้ ถั่วลิสง ขิงดอง เอาไว้เป็นเครื่องกินกับข้ามต้มครับผม


 


จับฉ่าย


 


雑菜


 


"จับ" หมายถึง "ปน คละ" "ฉ่าย" หมายถึง "ผัก"  ก็คือแกงที่เอาผักหลายๆ อย่างมาต้มคละๆ กัน บางคนชอบกินนะแต่ผมไม่ชอบเลยให้ตายสิ


 


จับหวย 


 


雑會


 


"หวย" ในที่นี่หมายถึง "ชุมนุมกัน" ก็คือการเอากับข้าวไหว์เจ้าที่กินเหลือข้าววันเอาไปโละใส่หม้อเดียวกันแล้วต้มๆ กินกันต่อไปได้อีก จะว่าไปมันก็คือ "แกงโฮะ" นี่เอง


 


จันอับ


 


薦盒


 


จันอับ คำนี้มาจากสำเนียงไหหลำ ความหมายโดนศัพท์หมายถึง "กล่องถวาย" คือกล่องที่ใส่ขนมเพื่อไหว้เจ้าหรือใส่เครื่องทองของหมั้นในงานแต่ง แต่ในภาษาไทยกลับเอามาใช้หมายถึงพวกขนมจำพวกข้างพอง งาตัด ถั่วตัด ที่เขาใส่มาในกล่องจันอับเสียนี่


 



__________________
หัวหน้าฯ

Date:
๓๒ ขนมจ้าง
Permalink   


 


ขนมจ้าง


 



 


粽 หมายถึงขนมที่ห่อใบไผ่ คือเอาข้าวมาห่อใบไผ่ ญี่ปุ่นเอาตัวหนังสือนี้ไปแทนคำว่า "จิมากิ" ในภาษาตนเอง ซึ่งก็หมายถึงขนมห่อใบไผ่เหมือนกัน ขนมจ้างของจีนมีทั้งอย่างหวานและเค็ม อย่างเค็มก็คือ "บ๊ะจ่าง" น่าตลกว่าคำว่า "จ้าง" น่าจะยืมจากสำเนียงฮกเกี้ยน แต่ "บ๊ะจ่าง" (ขนมจ้างใส่เนื้อหมู) กลับเป็นคำยืมจากสำเนียงแต้จิ๋วเสียนี่  ที่ฮาอีกอย่างก็คือเวลาที่คนญี่ปุ่นเรียกบ๊ะจ่าง กลับเรียกว่า "จิมากิจีน" 中華粽 จูกะจิมากิ เสียนี่


 


โจ๊ก


 



 


คำว่า "โจ๊ก" มาจากสำเนียงกวางตุ้ง ตัวอักษร 粥 ญี่ปุ่นเอาไปแทนคำว่า "คะยุ" ซึ่งดูเหมือนคือความหมายรวมๆ ไปทั้งโจ๊ก (ข้าวที่ต้มจนเป็นแป้ง ญี่ปุ่นเรียกว่า  固粥 คาตะคายุ) และข้าวต้มอย่างที่คนไทยรู้จัก (คือข้าวต้มน้ำโจ๋งเจ๋ง ญี่ปุ่นเรียกว่า 汁粥 ชิรุคายุ)


 


เกี้ยมอี๋


 


尖圓


 


"เกี้ยม" หมายถึง "แหลม" "อี๋" หมายถึง "กลม" เป็นคำที่คนแต้จิ๋ว‐ฮกเกี้ยนใช้เรียกอาหารเส้นกลมๆ ปลายแหลมๆ ทำจากแป้งข้าวเจ้า สมัยนี้หากินไม่ค่อยได้ละ


 


เกี้ยมไฉ่


 


鹹菜


 


แปลตรงตัวมันก็คือ "ผักเค็ม" นั่นแหละ


 


เกี้ยมบ๊วย


 


鹹梅


 


ก็ "บ๊วยเค็ม" ไง


 


เกี๊ยว


 



 


ก็คือเกี๊ยว คนไทยมักเห็นใส่ในก๋วยเตี๋ยวบะหมี่เป็นเครื่องอย่างหนึ่ง คนจีนกินเป็นอาหารหลักเปล่าๆ ทั้งเกี๊ยวนึ่งและเกี๊ยวต้ม ส่วนเกี๊ยวทอดซึ่งคนจีนถือว่าเป็นของเหลือค้างมื้อรีไซเคิลนั้น กลับกลายเป็นอาหารยอดนิยมของคนญี่ปุ่นตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเพราะเป็นได้ทั้งกับข้าวและกับแกล้มราคาถูก (จิงๆ แล้วคนญี่ปุ่นก็เป็นพวกเสพติดกลิ่นของทอดด้วย) คนญี่ปุ่นชอบกินเกี๊ยวซ่าแบบที่ทอดบนแผ่นเหล็ก เรียกว่า ยากิเกี๊ยวซ่า 焼き餃子 แบบที่เห็นได้ที่ฮะจิบังราเมง ส่วนเกี๊ยวซ่าทอดในน้ำมันท่วมอย่างที่เรียก อะเงะเกี๊ยวซ่า 揚げ餃子 ในญี่ปุ่นไม่ค่อยนิยมเท่า แต่แปลกว่า "เกี๊ยวซ่าญี่ปุ่น" ที่ทำขายในเมืองไทยยุคแรกๆ นั้นดันเป็นอะเงะเกี๊ยวซ่าเสียนี่  ตูละงง


 



__________________
Anonymous

Date:
RE: คำจีนในภาษาไทย ว่าด้วยของกินและขนม
Permalink   


รบกวนขออักษรจีน คำว่า "ก้วย" ที่แปลว่า ขนม หน่อยค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

วรินทร



__________________
Page 1 of 1  sorted by
 
Tweet this page Post to Digg Post to Del.icio.us


Create your own FREE Forum
Report Abuse
Powered by ActiveBoard